วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันปีใหม่ทางโหราศาสตร์

วันปีใหม่ทางโหราศาสตร์
วันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกทางทิศตะวันออกและตะวันตกพอดี เราเรียกว่า วิษุวัต(Equinox) โดยในแต่ละปีจะมีเพียง 2 วันเท่านั้น คือวันที่ 21 มีนาคม เรียกว่า วสันตวิษุวัต(Vernal equinox) ถือว่าเป็นวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิทางซีกโลกเหนือ (หรือฤดูใบไม้ร่วงทางซีกโลกใต้) และวันที่ 22 กันยายน เรียกว่า ศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) ถือว่าเป็นวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ร่วงทางซีกโลกเหนือ (หรือฤดูใบไม้ผลิทางซีกโลกใต้) ในวันทั้งสองนี้ แกนโลกจะอยู่ในระนาบตั้งฉากกับรัศมีจากดวงอาทิตย์พอดี ทำให้กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน หรือ เรียกว่า มัธยมกาล ซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้จะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์เท่าๆกัน
เมื่อเขตร้อนลดลง เขตหนาวก็ต้องเพิ่มขึ้น นั่นคือ แกนโลกเอียงลดลงกำลังพาโลกไปสู่ยุคน้ำแข็ง แกนโลกเอียงน้อยที่สุด 22.6 องศา ในอีก 10,200 ปีซึ่งเป็นช่วงที่เขตร้อนเหลือน้อยที่สุด หลังจากนั้นแกนโลกจะเริ่มเอียงมากขึ้นทีละน้อย เขตร้อนเพิ่มขึ้น ปรากฏการณ์โลกร้อนขึ้นเพราะแกนโลกเอียงมากขึ้นก็จะตามมา กลายเป็นโลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็งละลายเนื่องจากเขตหนาวลดลง

ในปัจจุบันขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ในเดือนมิถุนายน ทำให้ซีกโลกเหนือเป็นฤดูร้อน แต่ในเดือนธันวาคมขั้วโลกเหนือหันออกจากดวงอาทิตย์ซีกโลกเหนือได้รับความร้อนลดลงจึงเป็นฤดูหนาว ในระยะยาวอีกประมาณ 12,000 ปีจากปัจจุบัน ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ในเดือนธันวาคมและหันออกในเดือนมิถุนายน ดังนั้นฤดูกาลจึงกลับกันกับในปัจจุบัน คือซีกโลกเหนือเป็นฤดูร้อนในเดือนธันวาคมและเป็นฤดูหนาวในเดือนมิถุนายน ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเพราะการส่ายของแกนหมุนของโลกรอบละ 25,800 ปี
ทิศทางที่แสงแดดตกกระทบผิวโลกจะช่วยบอกให้ทราบว่าโลกบริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำ หากแสงอาทิตย์ส่องมาตรง ๆ หรือตั้งฉากกับผิวโลกจะทำให้ผิวโลกบริเวณนั้นร้อนกว่า เมื่อแสงอาทิตย์ส่องมาเฉียง ๆ ทั้งนี้เพราะเมื่อแสงส่องมาเฉียงความร้อนจะแผ่กระจายเป็นบริเวณกว้าง อุณหภูมิเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่จึงน้อยกว่าเมื่อแสงส่องมาตรง ๆ ซึ่งความร้อนแผ่กระจายเป็นบริเวณแคบ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่มีค่าสูง ปัจจุบัน
วันที่ 22 ธันวาคม หรือ ทักษิณายัน (Vernal solstice) ในวันนี้ดวงอาทิตย์จะขึ้นค่อนไปทางใต้มากที่สุด เป็นการเริ่มต้นของฤดูหนาว ส่วนทางซีกโลกใต้ วันนี้จะเป็นวันที่ยาวที่สุดและเป็นการเริ่มต้นฤดูร้อน เพราะว่าแกนโลกจะหันด้านใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกใต้ได้รับความร้อนมากกว่าซีกโลกเหนือ
ทางโหราศาสตร์สากล(Classical Astrology)ถือว่า
วันที่ 22 ธันวาคม 2552 เวลา0.58เป็นวันปีใหม่ทางโหราศาสตร์
Sun ingress Capricorn
ingress (22.12.2009 0:58:00 GMT+7:00) thai (13N45'00 100E30'00)
Tropical, Geocentric, Placidus

อาทิตย์ยกราศีมกร ทำมุมดี60องศากับจันทร์27องศาราศีกุมภ์หมายถึงการรอมชอมและการให้เกรียติซึ่งกันและกัน มิตรภาพที่ดี จันทร์ภพ5หมายถึงการลงทุน การบันเทิงจะคึกคัก แต่ยังกังวลเรื่องรายได้ที่ได้มาแล้วต้องไหลออกจากกระเป๋าไป คือยังเดือดร้อนในการเงิน ส่วนการเมืองรัฐสภายังวุ่นวายถกเถียงกันวุ่นวาย ไม่สงบเท่าที่ควร
การปฏิบัติตนในวันปีใหม่ทางโหราศาสตร์นี้ให้ทำพิธีกรรมต่างๆทั้งทางจีนและศาสนาพุทธคือประพฤติตนให้ดีไม่ให้วันนี้มีเรื่องมีราวเพราะผลของการกระทำและการเกิดเหตุการณ์ณืที่ไม่ดีจะส่งผลตลอดทั้งปี หมายถึงฤทธิ์ของเวลานี้จะยืนยาวปีต่อปี ผู้ที่ได้ปฏิบัติตนมาตลอดในทุกๆเดือนจนถึงกระทั้งวันนี้จะเกิดความเป็นมงคลและโชคดีเป็นอันมาก อย่าทะเลาะ โดนทวงหนี้ และสิ่งต่างๆที่ไม่ดีในวันนี้ ให้หลีกเลี่ยงเสีย ถ้าให้ดีอยู่บ้านไม่ไปไหนดีที่สุด

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันสำคัญที่พึงปฏิบัติ

วันสำคัญที่พึงปฏิบัติ
วันเวลาสำหรับนั่งสมาธิ สวดมนต์ เพื่อขอพลังจากฟ้าเปิด เป็นวันที่ โลก ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ มาชุมนุมกัน เรียกว่าสังคมโลกกับจักรวาลเชื่อมมิติซึ่งกันและกัน ให้อธิษฐานจิต เรียกบุญที่ได้ทำในทุกๆชาติ น้อมจิตถึงพ่อแม่ ปู่ย่าตายายและญาติทุกๆชาติ และครูบาอาจารย์ สิ่งศักดิ์สิทธ์ที่นับถือมาทุกๆชาติ ช่วยให้ข้าพเจ้า มีความสุขความเจริญ ความก้าวหน้าและนั่งสมาธิให้เกิดความก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ความชั่วร้ายต่างๆจนถึงคนพาลคนหยาบอย่าได้มาเจอะเจอ
วันดังกล่าว ให้สงบจิตใจ ระวังมารผจญ เพราะวันนี้เป็นวันที่แรงมาก คนที่ทำบุญมาน้อยจะหงุดหงิดระงับอารมณ์ไม่อยู่ ระวังไม่ให้ใครหยิบยืมเงินวันต่างๆเหล่านี้ ไม่จ่ายเงินมีหนี้ให้ไปจ่ายวันอื่น ปลีกวิเวกหลีกเลี่ยงพบปะผู้คน ไม่ควรสัญจรไปมาในที่ต่างๆ บางท่านชะตาขาดอาจจะจากจรไปต่างภพ วันเหล่านี้เหมาะกับการเริ่มต้นในสื่งที่ดี จะนำมาซึ่งความก้าวหน้า ความเจริญ ถ้ารู้จักปฏิบัติตาม ความรู้เหล่านี้เป็นวิชาที่ปราชโบราณ ได้นำมาปฏิบัติอยู่ในเฉพาะหมู่ผู้มีการศึกษาและลูกศิษยผู้ที่ไม่ประมาทในสำนักเท่านั้น
พระพุทธโอวาท : ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ผู้รู้ รู้สิ่งที่ควรรู้ รู้จักโลก นั่นคือ รู้จักธรรม(ความจริงของธรรมชาติและชีวิต)
ผู้ตื่น ตื่นจากอะไร ตื่นความฝันที่เราสรรค์สร้าง ให้เข้าใจว่าต้องปฏิบัติตนเช่นไร
ผู้เบิกบาน คือไม่หดหู่ เหี่ยวแห้ง ท้อแท้ เพราะเราเข้าใจกฏแห่งธรรมชาติ
Date Time
Date Time
16.12.2009
19:02:05
15.1.2010
14:11:22
14.2.2010
9:51:18
16.3.2010
4:01:04
14.4.2010
19:28:54
14.5.2010
8:04:23
12.6.2010
18:14:34
12.7.2010
2:40:27
10.8.2010
10:08:09
8.9.2010
17:29:49
8.10.2010
1:44:28
6.11.2010
11:51:46
6.12.2010
0:35:41
4.1.2011
16:02:36

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid belt)

แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid belt)
เป็นบริเวณในระบบสุริยะที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคาร กับดาวพฤหัสบดี ประกอบไปด้วยก้อนหินจำนวนมากลอยเกาะกลุ่มกันเป็นแถบ เรียกหินเหล่านี้ว่า ดาวเคราะห์น้อย หรือ ดาวเคราะห์แคระ บางครั้งก็เรียกแถบความเคราะห์น้อยว่า "แถบหลัก" เพื่อแยกแยะมันออกจากแถบดาวเคราะห์แคระอื่นๆ ที่มีอยู่ในระบบสุริยะ เช่นแถบไคเปอร์ และแถบหินกระจาย (scattered disk)
มวลกว่าครึ่งหนึ่งของแถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในวัตถุขนาดใหญ่ 4 ชิ้น ได้แก่ ซีรีส, 4 เวสต้า, 2 พัลลัส และ 10 ไฮเจีย ทั้งสี่ชิ้นนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 400 กิโลเมตร สำหรับซีรีสซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์แคระเพียงดวงเดียวในแถบดาวเคราะห์น้อย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 950 กิโลเมตร[1][2][3][4] ส่วนที่เหลือมีขนาดลดหลั่นกันลงไปจนถึงเศษฝุ่น ชิ้นส่วนในแถบดาวเคราะห์น้อยกระจายอยู่อย่างเบาบางจนกระทั่งยานอวกาศหลายลำสามารถแล่นผ่านไปได้โดยไม่ชนกับอะไรเลย นอกจากนั้น ชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ยังแตกสลายลง เกิดเป็นกลุ่มตระกูลดาวเคราะห์น้อยที่มีองค์ประกอบธาตุและวงโคจรใกล้เคียงกัน การแตกสลายทำให้เกิดเศษฝุ่นละเอียดขึ้นซึ่งกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดแสงในแนวจักรราศี ดาวเคราะห์น้อยแต่ละชิ้นในแถบดาวเคราะห์น้อยจะจัดแบ่งกลุ่มโดยแยกตามการสะท้อนแสง โดยหลักแล้วมีสามกลุ่มได้แก่ กลุ่มคาร์บอน (C-type) กลุ่มซิลิกา (S-type) และกลุ่มโลหะ (M-type)
แถบดาวเคราะห์น้อยเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเนบิวลาระบบสุริยะในยุคเริ่มต้น ซึ่งเตรียมจะก่อตัวขึ้นเป็นดาวเคราะห์ แต่เนื่องจากตกอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี แรงโน้มถ่วงขนาดสูงของดาวเคราะห์ยักษ์ทำให้ชิ้นส่วนกำเนิดดาวเคราะห์มีพลังงานในการโคจรสูงเกินไปจนไม่สามารถรวมตัวกันขึ้นเป็นดาวเคราะห์ได้ นอกจากนี้ยังเกิดการกระทบอย่างรุนแรง ซึ่งแทนที่ชิ้นส่วนเหล่านั้นจะรวมเข้าด้วยกัน กลับยิ่งแตกกระจัดกระจาย ด้วยเหตุนี้มวลส่วนใหญ่ในแถบดาวเคราะห์น้อยจึงมลายหายไปนับแต่ยุคเริ่มต้นของระบบสุริยะ บางชิ้นส่วนอาจหลุดรอดเข้ามายังระบบสุริยะชั้นในและพุ่งเข้าชนดาวเคราะห์ชั้นในกลายเป็นสะเก็ดดาว วงโคจรของแถบดาวเคราะห์น้อยยังคงถูกรบกวนอยู่เสมอ ในบางครั้งวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของมันบังเอิญไปสอดคล้องกับวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ทำให้ชิ้นส่วนจำนวนหนึ่งถูกพัดพาข้ามช่องแคบเคิร์กวูดไปยังวงโคจรอีกระดับหนึ่ง
ปี ค.ศ. 1800 นักดาราศาสตร์ชื่อ บารอน ฟรานซ์ ซาเวอร์ ฟอน แซค เชิญเพื่อนๆ ของเขา 24 คนเข้าร่วมในชมรมไม่เป็นทางการแห่งหนึ่งซึ่งเขาเรียกว่า "สมาคมลิเลียนทาล" มีเป้าหมายจะจัดระเบียบให้ระบบสุริยะ ต่อมากลุ่มนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ "ฮิมเมลสโปลิซเซ" (Himmelspolitzei) หรือ ตำรวจอวกาศ สมาชิกคนสำคัญได้แก่ เฮอร์เชล, เนวิล มัสเคลลีน, ชาร์ลส เมอร์สิเออร์ และ เฮนริค โอลเบอร์[8] สมาชิกนักดาราศาสตร์แต่ละคนจะได้รับมอบหมายให้ดูแลอาณาบริเวณ 15 องศาของจักรราศี เพื่อเสาะหาดาวเคราะห์ที่หายไป[9]
ไม่กี่เดือนถัดมา นักดาราศาสตร์คนอื่นซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกตำรวจอวกาศ ได้ตรวจพบสิ่งที่พวกเขาค้นหา วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1801 จูเซปเป ปิอาซซี (Giuseppe Piazzi) ประธานสมาคมดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปาเลร์โม ซิซิลี พบวัตถุเคลื่อนที่ชิ้นเล็กๆ ในบริเวณที่คาดคะเนโดยกฎของทิเทียส-โบเด เขาเรียกวัตถุชิ้นนั้นว่า ซีรีส ตามชื่อเทพเจ้าโรมันองค์หนึ่ง คือเทพีแห่งการเก็บเกี่ยวและผู้พิทักษ์เกาะซิซิลี ในตอนแรกปิอาซซีเชื่อว่าวัตถุนั้นคือดาวหาง แต่เนื่องจากมันไม่มีโคม่า มันจึงน่าจะเป็นดาวเคราะห์[8] สิบห้าเดือนต่อมา โอลเบอร์ค้นพบวัตถุชิ้นที่สองในบริเวณฟากฟ้าเดียวกัน คือ พัลลัส มันไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ เพราะปรากฏเป็นเพียงจุดแสงไม่ว่าจะใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายสักเท่าใด นอกจากการเคลื่อนที่ของมันแล้ว ก็แทบไม่แตกต่างไปจากดวงดาวทั่วไปเลย ต่อมาในปี ค.ศ. 1802 วิลเลียม เฮอร์เชล เสนอให้จัดประเภทวัตถุเหล่านี้เป็นอีกชนิดหนึ่ง ให้ชื่อว่า "ดาวเคราะห์น้อย" (asteroid) ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า asteroeide หมายถึง "เหมือนดวงดาว"[10][11]
แต่ทั้งที่เฮอร์เชลเสนออย่างนั้น วัตถุเหล่านี้กลับถูกเรียกว่าเป็น ดาวเคราะห์ ต่อมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ[5] ราวปี ค.ศ. 1807 มีการศึกษาเพิ่มเติมพบวัตถุอีก 2 ชิ้นในย่านฟ้าเดียวกัน คือ จูโน และ เวสต้า[12] แต่สงครามของนโปเลียนทำให้การศึกษาค้นคว้าในช่วงแรกนี้ต้องยุติลง[12] และไม่มีความคืบหน้าใดๆ อีกเลยจนกระทั่งปี ค.ศ. 1845 จึงมีการค้นพบวัตถุชิ้นที่ 5 คือ แอสเตรีย นับจากนั้นก็มีการค้นพบวัตถุชิ้นใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องในเวลาอันรวดเร็ว และความคิดที่จะเรียกสิ่งเหล่านี้เป็นดาวเคราะห์ก็เริ่มมีปัญหา ในที่สุดมันก็หลุดจากผังรายชื่อดาวเคราะห์ และข้อเสนอของวิลเลียม เฮอร์เชล ที่แนะให้เรียกมันว่า ดาวเคราะห์น้อย ก็เริ่มเป็นที่นิยมกันต่อมา[5]
ล่วงถึงกลางปี 1868 มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อย 100 ดวง และเมื่อมีการคิดค้นภาพถ่ายดาราศาสตร์โดย แมกซ์ วูล์ฟ ในปี ค.ศ. 1891 ก็ทำให้อัตราการค้นพบวัตถุอวกาศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[14] ดาวเคราะห์น้อยถูกค้นพบ 1,000 ดวงในปี 1923 พบ 10,000 ดวงในปี 1951 และ 100,000 ดวงในปี 1982[4] ระบบการสำรวจดาวเคราะห์น้อยสมัยใหม่ใช้ค่าเฉลี่ยอัตโนมัติในการระบุตำแหน่งดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่ๆ ได้เป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ในโหราศาสตร์สากล โดยทั่วๆไป ใช้ดาวเคราะห์น้อย(Asteroids)แค่4ดวงเท่านั้นส่วนที่เหลือแล้วแต่ตามอัทยาศัยคือ
1.Ceres เส้นผ่าศูนย์กลาง770km ค้นพบเมื่อค.ศ.1801(พศ2344) ลูกสาวของดาวเสาร์เทพแห่งการเกษตร
2.Pallas เส้นผ่าศูนย์กลาง490 km ค้นพบเมื่อค.ศ.1802(พศ2345) 28 มีนาคม พ.ศ. 2344 (ค.ศ. 1802) - ไฮน์ริช วิลเฮล์ม มัททอยส์ โอลเบอรส์ นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ค้นพบแพลลาส ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงที่ 2เทพแห่งปัญญาและสงคราม (ตำนานกรีก)
3.Juno เส้นผ่าศูนย์กลาง193 Km ค้นพบเมื่อค.ศ.1804(พศ2347)ภรรยาของดาวพฤหัสบดี) (ตำนานโรมัน) มเหสีของพระเจ้าโอลิมเปียที่ป้องกันสมรส; ภรรยาและน้องสาวของดาวพฤหัสบดี; ยมของกรีก Heraเทพบุตรโอลิมเปีย, น้องสาวและมเหสีของ Zeus, ยมของโรมัน Juno.
4. Vesta เส้นผ่าศูนย์กลาง386 kmค้นพบเมื่อค.ศ. 1807(พศ2351)ตำนานโรมัน เจ้าแม่ของบ้านและไฟในเปลวเพลิงที่ถูก tended โดยสาวพรหมจรรย์บริสุทธิ์; ยมของกรีก

พ.ศ. 2344 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พยายามพัฒนาเครืองทอผ้าโดยใช้บัตรเจาะรูในการบันทึกคำสั่งควบคุมเครื่องทอผ้าให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นแนวทางที่ทำให้เกิดการประดิษฐ์เครื่องเจาะบัตร (Punched Card Machine) ในเวลาต่อมา และถือว่าเป็นเครื่องจักรที่ใช้ชุดคำสั่ง (Program) สั่งทำงาน
สมัย(ประมาณ พ.ศ. 2344
สมัยนี้เริ่มประมาณแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นักคณิตศาสตร์ในสมัยนี้สนใจเรื่องรากฐานของวิชาคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ (วิชาที่ว่าด้วยการใช้เหตุผล) นำผลงานคณิตศาสตร์รุ่นก่อนมาวิเคราะห์ นักคณิตศาสตร์รุ่นก่อนเคยกล่าวว่าเป็นจริงแล้ว นักคณิตศาสตร์รุ่นใหม่ก็จะนำมาคิดหาทางพิสูจน์ให้เห็นจริง ทำให้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เดิมมีพื้นฐานมั่นคง มีหลักเกณฑ์ที่จะอธิบายได้ว่าการคิดคำนวณต่าง ๆ ต้องทำเช่นนี้เพราะเหตุใด ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างคณิตศาสตร์แขนงใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นเพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยคเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน นักคณิตศาสตร์สมัยนี้มีหลายคน ที่รู้จักกันดีได้แก่ แบร์นฮาร์ด รีมันน์ จอร์ด บูล อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ จอห์นฟอน นอยมันน์