วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

วิตามินกับโหราศาสตร์Vitamin Astrology

วิตามินกับโหราศาสตร์
Vitamin Astrology

วิตามิน เป็นสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องได้รับในบริมาณเล็กน้อย สำหรับการเติบโต ขยายพันธุ์ และช่วยให้ให้มีสุขภาพดี ถ้าสิ่งมีชีวิตขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่งจะมีอาการป่วยซึ่งมีลักษณะเฉพาะขึ้นกับวิตามินที่ขาด
วิตามินแบ่งออกเป็น 2 จำพวก คือ
วิตามินที่ละลายในน้ำ เช่น B1, B2, B3, B5, B6, B12, H, M, C เป็นต้น
วิตามินที่ละลายในไขมันเช่น A, D, E, K เป็นต้น
[แก้] ชื่อเรียก
วิตามินมีชื่อเรียก ดังนี้
วิตามินเอ : Retinol อาทิตย์(sun)มีอทธิพล
วิตามินเอ มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย และยังมีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา
วิตามินเอ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A)หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า Carotene เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมาในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม
ประโยชน์
ช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน (Night Blindness) อาทิตย์-จันทร์
ช่วยให้กระดูก ผม ฟัน และเหงือกแข็งแรง อาทิตย์ – พุธ-เสาร์
สร้างความต้านทานให้ระบบหายใจ
ช่วยสร้างภูมิชีวิตให้ดีขึ้น และทำให้หายป่วยเร็วขึ้น อาทิตย์-เนปจูน
ช่วยในเรื่องของผิวพรรณ ลดการอักเสบของสิว และช่วยลบจุดด่างดำ อาทิตย์-ศุกร์
ช่วยบรรเทาโรคเกี่ยวกับไทรอยด์
วิตามินบี 1 : Thiamine พุธมีอิทธิพล
วิตามินบี1 หรือ Thiamin เป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องรัปประทานอาหารหรืออาหารเสริม มีคุณสมบัติพิเศษคือไม่มีพิษตกค้าง ถ้ามีมากเกินไป ร่างกายจะขับออกมาทันที
ประโยชน์
จำเป็นต่อการทำงานของสมอง ระบบประสาท ระบบย่อย หัวใจและกล้ามเนื้อ
ช่วยให้เจริญอาหารและช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย
ช่วยแก้อาการเมาคลื่นและเมาอากาศ
ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตและรักษางูสวัดให้หายเร็วขึ้น
ช่วยให้แข่งแรง
วิตามินบี 2 : Riboflavin ดาวอังคารมีอิทธิพล
ใช้ในการเจริญเติบโต เมื่อขาดจะกลายเป็นคนแคระเกร็น จำเป็นต่อเอนไซม์และกระบวนการเมทาบอลิซึมของสารอาหารต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะไขมัน ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด อันเป็นสาเหตุให้เส้นเลือดแข็งตัว ขจัดไขมันชนิดอิ่มตัวในเส้นเลือด เหตุนี้เองวิตามินบี2 จึงได้สมญาว่า "วิตามินป้องกันไขมัน" วิตามินบี2 ช่วยระงับอาการตาแฉะได้ จึงใช้เป็นส่วนประกอบในยาหยอดตา
วิตามินบี 3 : Niacin ดาวศุกร์-พฤหัส-เสาร์
วิตามินบี3 หรือ ไนอะซิน (Niacin) หรือกรดนิโคตินิก Nicotinic Acid ซึ่งจำเป็นใน Lipid Metabolism,Tissue respiration และ Glycogenolysis Nicotinic Acid ในปริมาณสูงๆจึงสามารถลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยฤทธิ์ของยาจะทำให้ระดับ Triacylglycerol ใน Plasma และ VLDL ลดลงภายใน 1-4 วัน ส่วนฤทธิ์ในการลดระดับโคเลสเตอรอลและ LDL นั้น 5-7 วันจึงจะเห็นผล และนอกจากนั้น Nicotinic Acid ยังสามารถเพิ่ม HDL อีกด้วย จากการทดลองผลการลดระดับไขมันในเลือดจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดหลังรับประทานยา 5-7 สัปดาห์ ยาส่วยเกินที่รับประทานเข้าไปจะขับออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ
ประโยชน์
ช่วยทำลายพิษหรือท็อกซินจากมลพิษ แอลกอฮอล์และยาเสพติด
รักษาโรคทางจิตและโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง
ช่วยให้อาการต่างๆ ของผู้ป่วยเบาหวานดีขึ้น
ช่วยรักษาโรคปวดหัวไมเกรน
ช่วยบรรเทาโรคอาร์ไทรทิสหรือข้ออักเสบ
ช่วยกระตุ้นและแก้ไขความบกพร่องทางเพศ
ช่วยลดความดันโลหิตสูงประจำ
วิตามินบี 5 : Pantothenic Acid ดาวอังคาร-เนปจูน
วิตามินบี 5 หรือ Pantothenic Acid เป็นวิตามินในการสร้างความเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยสร้างเซลล์ใหม่และช่วยบำรุงระบบประสาท
ร่างกายคนเราต้องการวิตามินบี5 อย่างน้อย 200 มิลลิกรัม
ประโยชน์
ช่วยสร้างแอนติบอดีซึ่งเป็นตัวสำคัญของภูมิชีวิต
เมื่อร่างกายเปลี่ยนไขมันที่สะสมไว้ให้เป็นน้ำตาลเพื่อสร้างพลังงาน วิตามินบี5 จะเป็นตัวสำคัญในการเปลี่ยนไขมันเป็นน้ำตาล ช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้น ช่วยให้ร่างกายหายจากการช็อกหลังการผ่าตัดใหญ่
ช่วนให้อาการอ่อนเพลียหายเร็วขึ้น
วิตามินบี 6 : Pyridoxine ดาวอังคาร-พฤหัส อาทิตย์-เสาร์
วิตามินบี 6 (อังกฤษ: Pyridoxine) เป็นวิตามินที่มักใช้ร่วมกับบี1 และบี12 ซึ่งวิตามินบี1 ทำงานกับคาร์โบไฮเดรตส่วนวิตามินบี6 และบี12 ทำงานร่วมกับโปรตีนและไขมัน ร่างกายคนเราต้องการวิตามินบี6 ประมาณ 1.5 มิลลิกรัม
ประโยชน์
ช่วยเปลี่ยนกรดอมิโนให้เป็นวิตามินบี3 หรือไนอะซิน
ช่วยร่างกายสร้างภูมิต้านทานแอนติบอดี และช่วยสร้างเซลล์โลหิตใด้ดียิ่งขึ้น
ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและแร่ธาตุแมกนีเซียม
ช่วยบรรเทาโรคที่เกิดจากระบบประสาทและผิวหนัง
ช่วยบรรเทาการคลื่นไส้อาเจียน
ช่วยบรรเทาอาการปากแห้งและคอแห้ง
ช่วยแก้การเป็นตะคริว แขนขาชาและช่วยขับปัสสาวะ
วิตามินบี 7 : Biotin ดาวศุกร์ – เสาร์ ศุกร์-พฤหัส
วิตามิน บี 7 (ไบโอติน) มีหน้าที่ช่วยในกระบวนการเมตาบอลิสมของกรดไขมัน และกรดอะมิโน ช่วยถนอมผิวพรรณให้ปกติ รักษาโรคทางระบบประสาท เช่นโรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า ไบโอตินพบได้ใน ตับ ถั่วต่างๆ ผลไม้ ยีสต์ มะเขือเทศ ไข่แดง อาหารธรรมดามีไบโอตินเพียงพอ แต่ผู้ชอบรับประทานไข่ดิบเป็นประจำ ไข่ขาวดิบจะรวมตัวกับไบโอติน ขัดขวางการย่อยและดูดซึมโปรตีนในกระเพาะ และลำไส้ ผู้รับประทานไข่ดิบคราวละหลายฟองอยู่เสมอ มีโอกาสขาดไบโอตินสูงกว่าคนอื่น จึงควรต้มไข่ให้สุกเพื่อขจัดปัญหา แบคทีเรียในลำไส้สร้างไบโอตินขึ้นเองได้ แต่ผู้ใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ ยาจะทำลายแบคทีเรียชนิดนี้ เป็นผลให้ร่างกายมีไบโอตินลดลง ภาวะขาดไบโอติน ผิวหนังจะเกิดผดผื่น ขนร่วง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน
วิตามินบี 9 : Folic Acid ดาวจันทร์-อังคาร-เสาร์
วิตามิน บี9 – กรดโฟลิค มีประโยชน์สำหรับการสังเคราะห์ DNA และการเจริญเติบโตของเซลล์ และยังจำเป็นในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง, การสร้างพลังงาน กรดโฟลิคนั้นเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้าง Heme ซึ่งเป็นธาตุเหล็กที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในฮีโมโกบิน เพื่อการลำเลียงออกซิเจนในร่างกาย และจำเป็นต่อเซลล์ส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อโคเอ็นไซม์ในการสังเคราะห์ RNA และ DNA อีกทั้งยังจำเป็นต่อการเผาผลาญโปรตีน และการรักษาโรคโลหิตจาง วิตามินบี 9 ยัง ช่วยในเรื่องการย่อยอาหาร และระบบประสาท ช่วยในเรื่องจิตใจและอารมณ์ เพราะสารอาหารนี้ช่วยในเรื่องระบบประสาท จึงมีผลให้ผ่อนคลายด้านอารมณ์ ความวิตกกังวลและความเครียดที่เป็นอยู่ได้ - - - อาการเมื่อขาดวิตามินบี 9 คือ ท้องเสีย, เสียดท้องหรือท้องผูก กรดโฟลิคนั้นมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบประสาทของทารกในครรภ์ด้วย การขาดวิตามินบี9 - - การขาดวิตามินบี9 ในเด็กทารกที่ยังไม่คลอดนั้น อาจเพิ่มความเสียงต่อทารกที่จะเกิด ทำให้มีการเจริญเติบโตอย่างผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลัง และระบบประสาทผิดปกติรุนแรง เมื่อ ขาดกรดโฟลิค จะมีอาการเหนื่อยเพลีย, เป็นสิว, ฝาดลิ้น, เป็นแผลที่มุมปาก (เช่นเดียวกับการขาดวิตามินบี2, วิตามินบี6 และธาตุเหล็ก) ผลของการขาดกรดโฟลิคในระยะยาวคือ อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และภาวะกระดูกพรุนได้ในภายหลัง เช่นเดียวกับโอกาสในการเป็นมะเร็งลำไส้และมะเร็งปากมดลูก ขนาดรับประทาน
หญิง ที่ใช้ยาคุมกำเนิดหรือใช้ฮอร์โมนในการรักษาโรค อาจได้รับประโยชน์จากกรดโฟลิค เช่นเดียวกับเด็ก ๆ ที่ได้รับประโยชน์จากนมแพะแทนนมวัว
อันตรายของวิตามินบี9 – กรดโฟลิคแสง, ความร้อน และการเก็บวิตามินเป็นเวลานานเกินไปสามารถทำลายวิตามินนี้ได้จุดอื่น ๆ ที่น่าสนใจ - - การขาดกรดโฟลิคอาจพบทั่วไปในผู้สูบบุหรี่ พบว่ามีระดับกรดโฟลิคต่ำในปอดของผู้สูบบุหรี่ แหล่งที่มาของวิตามินบี9ในอาหาร - - ผักสดสีเขียว เช่นผักขม และบร๊อคโคลี่ และยังพบในผลไม้, ถั่วต่าง ๆ , เมล็ดข้าวธัญพืช และตับ
วิตามินบี 12 : Cyanocobalamin ดาวอังคาร –พุธ- พลูโต
วิตามินบี 12 (Cyanocobalamin) เป็นวิตามินชนิดละลายน้ำ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ให้ระวังการดูดซึมของบี12 สู่ร่างกายจะบกพร่องและเป็นผลให้เกิดโรคโลหิตจาง ควรกินวิตามินชนิดนี้ควบกับแคลเซียมจะทำให้การดูดซึมสู่ร่างกายดีขึ้น
ประโยชน์
ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยให้เด็กเติบโตและเจริญอาหาร ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดี ช่วยให้สมองไม่ฟุ้งซ่าน ความจำดีและมีสมาธิ
แหล่งอาหาร
พบมากในตับ ไต รองลงมาได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่แดง และอาหารหมักดอง เช่น กะปิ น้ำปลา เต้าเจี้ยว อาหารที่มาจากพืชผักทั้งหมดไม่มีวิตามิน บี 12เลย ยกเว้นอาหารหมักดอง ผู้บริโภคมังสวิรัติชนิดเคร่งครัด จึงควรบริโภค อาหารที่ได้จากการหมักด้วย การขาดวิตามิน บี12 ต้องใช้เวลา 10-15 ปี หรือนานกว่านั้น เนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายน้ำเพียงชนิดเดียว ที่มีการสะสมในร่างกายได้มาก
วิตามินซี : Ascorbic Acid ดาวเสาร์-เนปจูน
วิตามินซีหรือ กรดแอสคอร์บิค (Ascorbic acid) เป็นสารอาหารที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไป วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถป้องกันและรักษาการอักเสบอันเนื่องมาจากแบคทีเรียและไวรัสได้
ประโยชน์
เป็นตัวสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นเส้นใยทำหน้าที่เชื่อมเนื้อเยื่อต่างๆ ไว้ด้วยกัน ทั้งยังเป็นตัวสร้างกระดูก ฟัน เหงือก และเส้นเลือด ช่วยให้แผลสดและแผลไฟไหม้หายเร็วขึ้น ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างเม็ดเลือดทางอ้อม ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (Mutation) ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนอนหลับตายในกรณีเด็กอ่อน (SIDS: Sudden Infant Death Syndrome) ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
ช่วยคลายเครียด การฉีดด้วยวิตามินซีปริมาณสูง อาจช่วยหยุดยั้งโรคมะเร็งได้ โดยวิตามินอาจเข้าทำปฏิกิริยาทางเคมีในเซลล์ มะเร็ง ให้กลายเป็นกรดขึ้น ทำให้เนื้อร้ายชะงักและน้ำหนักลดไปได้
แหล่งวิตามินซี
แหล่งวิตามินซีมีมากในผักตระกูลกะหล่ำ การเก็บเกี่ยวผักผลไม้ตั้งแต่ยังไม่แก่จัด ไม่สุกดี หรือนำไปผ่านการแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นการตากแห้ง หมักดอง จะทำลายวิตามินซีที่อยู่ในอาหารไปในปริมาณมาก
ความร้อนทำลายวิตามินซีได้ง่ายจึงไม่ควรต้มหรือผัดนานเกินไป แต่การแช่เย็นไม่ได้ทำให้ผักผลไม้สูญเสียวิตามินซี
ขนาดที่เหมาะสมมากที่สุดต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ คือ 250-500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
วิตามินดี : Ergocalciferol และ Cholecalciferol อาทิตย์
วิตามินดี (CALCIFEROL หรือ ERGOSTEROL) เป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อการรักษาภาวะสมดุลของระดับแคลเซียมในเลือดและในกระดูก เมื่อร่างกายได้รับแสงแดด ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดด ในกรณีที่ไม่ถูกแดด จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารให้มากขึ้น เมื่อได้รับแสงแดดพอ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยการรับประทานวิตามินดีในรูปวิตามินรวม หรือรับประทานอาหารที่มีการเสริมด้วยวิตามินดี
วิตามินดีที่เข้าร่างกายจะถูกนำไปเก็บที่ตับเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้จะเก็บที่ผิวหนัง สมอง ตับอ่อน กระดูก และลำไส้ได้ วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีความสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันและการเจริญเติบโตตามปกติของเด็ก,วิตามินดีมีผลต่อการดูดซึมกลับของกรดอะมิโนที่ไต ,ช่วยสังเคราะห์น้ำย่อยใน mucous membrane ,ควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสโลหิตไม่ให้ต่ำลงจนถึงขีดอัตราย ,เกี่ยวข้องกับการใช้ฟอสฟอรัสในร่างกาย ,ช่วยสังเคราะห์ Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้าง คอลลาเจน,เกี่ยวข้องกับการใช้เกลือซิเตรทในร่างกายอาจจำเป็นในการทำงานของระบบประสาท การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด
ถ้าขาดวิตามินดีทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็กเรียก Rickets และในผู้ใหญ่เรียกว่า Osteosarcoma มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียมเข้าร่างกาย รูปร่างจะไม่สมประกอบ น้ำหนักลด ฟันผุ เติบโตช้า กระดูกสันหลังโก่ง ข้อมือ เข่า และกระดูกข้อเท้าโต ความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ลดน้อยลง เช่นหวัด ปอดบวม วัณโรค กล้ามเนื้ออ่อนกำลังขาดความคล่องแคล่ว ว่องไว ไม่กระฉับกระเฉง ไม่มีความกระปรี้กระเปร่า กล้ามเนื้อกระตุก ถ้าได้รับวิตามินดีมากเกินไป ทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เบื่ออาหาร ปัสสาวะมากผิดปกติและบ่อย กล้ามเนื้อไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อยอ่อน มีหินปูนเกาะตามอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของหัวใจ ผนังเส้นเลือดและปอด แต่อาการเหล่านี้นั้นจะหายภายใน 2 - 3 วันหลังจากหยุดวิตามิน
วิตามินอี : Tocopherol และ Tocotrienol พฤหัส-เสาร์
วิตามินอี เป็นวิตามินที่ช่วยในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายหลายระบบ และเป็นแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยให้เซลล์ต่างๆ รอดอันตรายจากท็อกซิน ช่วยชะลอความแก่ได้
ประโยชน์
เป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ คือทำให้เกิดการเผาผลาญโดยมีออกซิเจนเป็นตัวการสำคัญทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ดี
เป็นตัวช่วยไขกระดูกในการสร้างเลือด ช่วยขยายเส้นเลือด ต้านการแข็งตัวของเลือด ลดความสามารถในการจับตัวเป็นลิ่มเลือด และลดอัตราเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ
บำรุงตับซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับเลือดมาก
ช่วยในระบบสืบพันธุ์ เซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ตามปกติ
ช่วยให้ผิวพรรณสดใส และช่วยสมานแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกให้หายเร็วขึ้น
ช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้นและไม่อ่อนเพลียง่าย
แหล่งวิตามินอี
วิตามินอีมีมากในน้ำมันจากธัญพืชและถั่วประเภทเปลือกแข็ง การเก็บรักษาให้วิตามินอีควรเก็บให้พ้นจากความร้อนแสงแดด รวมทั้งออกซิเจนในอากาศ การขัดสี การบด จะทำให้ญพืชสูญเสียวิตามินอีไปจำนวนมาก
ร่างกายคนเราต้องการวิตามินอีอยู่ที่วันละ 10-15 IU
วิตามินเค : Naphthoquinone อังคาร-เสาร์
ตามินเค (อังกฤษ: Vitamin K) เป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน รูปแบบที่พบในธรรมชาติ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ วิตามินเค I (Vitamin K I) หรือ ฟิลโลควิโนน (phylloquinone) เป็นรูปแบบที่พบในพืชและสัตว์ และ วิตามินเค II (Vitamin K II) หรือ เมนาควิโนน (menaquinone) เป็นรูปแบบที่พบในเนื้อเยื่อตับ และยังสามารถสร้างได้โดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกาย สำหรับวิตามินเค III (Vitamin K III) หรือ เมนาไดโอน (menadione) นั้น เป็นโมเลกุลที่สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เมนาควิโนน โดยตับ
หน้าที่
วิตามินเค มีความสำคัญต่อการแข็งตัวของเลือด
ร่างกายใช้วิตามินเคในกระบวนการเติมหมู่คาร์บอกซิลหลังการแปลรหัสอาร์เอ็นเอเป็นโปรตีน (posttranslational carboxylation) ของกรดกลูตามิก (glutamic acid) ซึ่งจำเป็นต่อการจับกับแคลเซียมของโปรตีนที่มีหมู่คาร์บอกซิลในตำแหน่งแกมมา (γ-carboxylated proteins) เช่น โปรธรอมบิน หรือ แฟคเตอร์ II (prothrombin or factor II) , แฟคเตอร์ VII, IX และ X (factors VII, IX and X) , โปรตีนซี (protein C) , โปรตีนเอส (protein S) และโปรตีนอื่นๆที่เป็นองค์ประกอบของกระดูก

ยาในกลุ่มวอร์ฟาริน (Warfarin) จะขัดขวางกระบวนการนี้ ทำให้วิตามินเคไม่สามารถเปลี่ยนไปเป็นไฮโดรควิโนน (hydroquinone) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ออกฤทธิ์ได้

[แก้] แหล่งที่พบ
วิตามินเคพบมากในอาหารประเภทผักใบเขียว นอกจากนี้ยังพบในเนื้อสัตว์ นม เนย น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง กาแฟ และลูกแพร์

ปริมาณที่ร่างกายต้องการ คือ 100 ไมโครกรัมต่อวัน
ภาวะขาดวิตามินเค
อาการที่แสดงถึง ภาวะขาดวิตามินเค (Hypovitaminosis K) คือ มีเลือดออกในอวัยวะต่างๆ เช่น ช่องกระโหลกศีรษะ ลำไส้ หรือ ผิวหนัง โดยจะพบมากในช่วงอายุ 1 สัปดาห์แรกของทารกแรกเกิด ทั้งนี้เป็นเพราะทารกมีไขมันสะสมน้อย ตับของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ลำไส้ยังปราศจากเชื้อแบคทีเรียที่สังเคราะห์วิตามิน ประกอบกับวิตามินเคที่ผ่านมาทางรกและน้ำนมจากมารดานั้นมีปริมาณน้อย
สำหรับภาวะขาดวิตามินเคในผู้ใหญ่นั้น มักเกิดร่วมกับสาเหตุบางอย่าง เช่น โรคเรื้อรังของระบบทางเดินอาหารบางชนิด โรคทางเดินน้ำดีอุดตัน หลังจากการผ่าตัดลำไส้เล็ก หรือได้รับยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อกว้าง
การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจ เวลาโปรธรอมบิน (prothrombin time ; PT) ซึ่งผู้ที่มีภาวะขาดวิตามินเคจะใช้เวลานานกว่าปกติ หรือตรวจปริมาณวิตามินเคโดยตรงด้วยวิธี HPLC
การรักษาทำได้โดยให้วิตามินเคในรูปยาฉีด 10 มิลลิกรัมครั้งเดียว ในผู้ป่วยที่โรคเรื้อรังอื่นอาจเสริมด้วยวิตามินเคในรูปยากิน 1-2 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ ในรูปยาฉีด 1-2 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์

ผลเสียของวิตามิน
วิตามินนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายของ แต่ถ้าได้รับวิตามินในปริมาณที่เกินพอดี อาจจะมีผลเสียต่อร่างกายได้ดังนี้
วิตามินเอ ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป จะเกิดอาการอาเจียน ผมร่วง ผิวหนังแห้งตกสะเก็ต ทำลายประสาทตา ตับ และกระดูก หรืออาจทำให้เด็กในท้องพิการได้
วิตามินบี6 ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป จะมีอาการเดินเซ มือเท้าชา และส่งผลให้ประสาทกล้ามเนื้อแขนขาถูกทำลาย
วิตามินซี ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป จะมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย ท้องอืด และอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นนิ่วในไตได้ แต่ถ้าหยุดรับประทานอาการเหล่านี้จะหายไป
วิตามินอี ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป จะมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ตาพร่ามัว กล้ามเนื้อล้า แน่นท้อง และท้องร่วง และถ้าร่างกายขาดวิตามินอีสูงมาก อาจขัดขวางวิตามินเอได้
แหล่งข้อมูล-จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไบโอติน Biotin หรือ Vitamin H ดาวพฤหัส
เป็นวิตามินชนิดหนึ่งในกลุ่มวิตามิน บี แต่ก็ยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับปริมาณของวิตามินที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน วิตามินนี้จะถูกสังเคราะห์โดยจุลินทรีย์ในลำไส้ ระดับของไบโอตินในเซรุ่มของคนปกติอยู่ระหว่าง 213-404 นาโนกรัม/มล. สาเหตุหนึ่งที่ร่างกายอาจขาดไบโอตินได้ก็คือ การรับประทานไข่ขาวดิบในปริมาณมากเป็นระยะเวลานานๆ ทั้งนี้เพราะในไข่ขาวมีสารที่จะทำลายไบโอติน เมื่อร่างกายเกิดอาการขาดวิตามินนี้ก็จะทำให้เกิดเป็นโรคผิวหนัง ผิวหนังมีสีเทา อ่อนเพลีย โลหิตจาง มีโคเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่าปกติ
วิตามินชนิดนี้ บางครั้งจะรู้จักในชื่อของ โคเอ็นไซม์ อาร์ ( Coenzyme R ) ร่างกายสามารถสร้างเองได้เป็นจำนวนมาก โดยแบคทีเรียจากลำไส้
ไบโอตินพบได้ใน เนื้อสัตว์ ไข่แดง กล้วย ตับ ข้าวกล้อง ถั่ว ปลาเนื้อขาว น้ำมันปลา ข้าวกล้อง ข้าวโพด รำข้าวสาลี ไข่ นม เนย โยเกิรต์ ผักต่างๆโดยเฉพาะดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี เห็ด แครอท
ไบโอตินจะไม่ถูกทำลายเนื่องจากการประกอบอาหาร การสูญเสียไปโดยมากจะไปกับน้ำที่ล้างหรือน้ำที่ต้มประกอบอาหาร
นอกจากนี้แบคทีเรียบางชนิดที่อยู่ในลำไส้ (lactobacillin) สามารถผลิตไบโอตินได้
ความสำคัญของไบโอตินมีหลายประการ เช่น ช่วยในกระบวนการเผาผลาญไขมัน (fat metabolism) ช่วยสังเคราะห์กรดไขมันบางชนิด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ส่งเสริมการทำงานของเอ็นไซม์ในร่างกายหลายชนิด และเพิ่มความแข็งแรงให้กับเส้นผมและเล็บ
ยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับปริมาณของวิตามินที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน วิตามินนี้จะถูกสังเคราะห์โดยจุลินทรีย์ในลำไส้ ไบโอตินเป็นกรดที่มีกำมะถันอยู่ด้วยในโมเลกุล ผลึกของ ไบโอตินเป็นรูปเข็มยาว ในธรรมชาติมักเกิดรวมอยู่กับกรดอะมิโนไลซีน ระดับของไบโอตินในเซรุ่มของคนปกติอยู่ระหว่าง 213-404 นาโนกรัม/มล.
สาเหตุหนึ่งที่ร่างกายอาจขาดไบโอตินได้ก็คือ การรับประทานไข่ขาวดิบในปริมาณมากเป็นระยะเวลานานๆ ทั้งนี้เพราะในไข่ขาวมีสารที่จะทำลายไบโอติน เมื่อร่างกายเกิดอาการขาดไบโอตินก็จะทำให้เกิดเป็นโรคผิวหนัง ผิวหนังมีสีเทา อ่อนเพลีย โลหิตจาง มีโคเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่าปกติจะมีการอักเสบของเยื้อบุต่างๆ ผิวหนังแห้งลอก ตกสะเก็ด มีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน ซึม ปวดเมื่อยตามตัว ระดับคอเลสเตอรอลสูง โลหิตจางแม้จะได้รับเหล็กเพียงพอ การขับปัสสาวะลดลง
ประโยชน์ต่อร่างกาย
ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในขบวนการต่างๆของร่างการ เช่น กระบวนการเผาพลาญของร่างกาย ขบวนการสร้างกรดไขมัน พิวรีน
เป็นตัวส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยผลิตฮอร์โมนเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ และอินซูลิน อีกทั้งยังรักษาสุขภาพของผิวหนัง ผม ต่อม เหงื่อ และกระดูกอ่อนอีกด้วย
เป็นตัวส่งเสริมความเจริญเติบโตของร่างกายที่สำคัญ ช่วยในการสังเคราะห์วิตามินซี
เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรักษาสุขภาพผิวหนัง เส้นผม ประสาท และกระดูกอ่อน
ช่วยในการผลิตฮอร์โมนเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ และรักษาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์
ปริมาณที่แนะนำ
ปกติร่างกายจะสามารถสร้างไบโอตินได้อยู่แล้วจากแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่ง ถ้าหากรวมกับอาหารที่ได้รับในแต่ละวันถือว่าเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว แต่ก็เชื่อว่า ผู้ใหญ่ควรได้รับไบโอติน วันละ 100 – 200 ไมโคกรัม เด็ก(ตั้งแต่ 4 ขวบขึ้นไป) ควรได้รับวันล่ะ 85 – 120 ไมโคกรัม
ข้อมูลอื่นๆ
มีการดูดซึมที่ลำไส้เล็ก และมีการขับออกทางปัสสาวะ
อาหารหรือสารต้านฤทธิ์ ได้แก่ วิตามินบีรวม วิตามินบี 12 กรดโฟลิค กรดแพนโทเธ็นนิค วิตามินซี กำมะถัน
มักจะไม่พบการขาดไบโอตินในผู้ที่รับประทานอาหารครบหมู่หรืออาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบีรวม แต่อาจจะพบในผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานานโดยเฉพาะยาในกลุ่ม Sulfa เนื่องจากเชื้อพวก Lactobacillin จะถูกทำลาย การบริโภคไขขาวดิบในปริมาณสูง และนานติดต่อกันอาจทำให้สาร avidin ในไข่ขาวจับกับไบโอตินทำให้ไบโอตินไม่สามารถดูดซึมได้ก็อาจนำมาซึ่งภาวะการขาดไบโอตินได้ นอกจากนี้การใช้ยาต้านชัก (anti-seizure) เป็นเวลานานติดต่อกันก็สามารถก่อให้เกิดการขาดไบโอตินได้เช่นกัน
อาการที่พบในผู้ที่ขาดสารไบโอติน ได้แก่ อาการทางผิวหนัง (ผิวหนังอักเสบ) แห้งเป็นขุย ผมร่วง เล็บเปราะ กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย แสบตา เป็นต้น อาการที่น่าสนใจคือ ผมร่วง ผมบาง ซึ่งผมร่วงบางชนิดเกิดจากเส้นผมไม่แข็งแรงเนื่องมาจากร่างกายสร้าง keratin ได้น้อย
ไบโอตินจึงมีความสำคัญในการช่วยสร้าง keratin ในผู้ที่ขาดสารไบโอติน ประโยชน์ของไบโอตินอีกประการหนึ่งก็คือช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเล็บมือ และเล็บเท้า โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาเล็บเปราะเนื่องมาจากขาดสารไบโอติน
ขนาดที่ใช้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเส้นผม คือ 1-3 มิลลิกรัมต่อวัน และต้องใช้กับผู้ที่มีผมร่วง เนื่องมาจากการขาดไบโอตินเท่านั้น ส่วนขนาดที่ใช้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับเล็บคือ 2.5 มิลลิกรัมต่อวัน ปัจจุบันยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงหรือการเป็นพิษของวิตามินบีชนิดนี้