วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความหมายเรื่องฤกษ์ในดวงแบบไทยที่ควรรู้

เรื่องฤกษ์ ภาษาที่ใช้ในดวงฤกษ์ไทยที่เราควรทราบ เพราะเรายู่ในสังคมไทย ที่มีการใช้ฤหษ์ยามมาฃ้านาน การวางฤกษ์บางครั้งไปชนเข้ากับวันที่ไม่ดี
ในปฏิทินโหราศาสตร์ไทย จะทำให้คนอื่นเขานินทาว่าเราไม่รู้เรื่องเอาได้ ดังนั้นการเป็นนักโหราศาสตร์หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ตลอกจนเขาเรียกว่าผู้รู้
ก็ดี ควรที่จะรับรู้ไว้บ้าง ดังนี้
1.ฤกษ์บนฤกษ์ล่าง
ฤกษ์บนคือการโคจรของดาวบนท้องฟ้าถือเวลาเป็นหลัก แล้วนำมาผูกดวงชะตา
ฤกษ์ล่างคือการใช้วันทั้ง7และดิถีข้างขึ้นและข้างแรม เดือน ปีเป็นหลักกำหนดนับเช่นวันฟู วันจม วันลอย กทิงวัน ทักทิน วันอุบาทว์ โลกาวินาศวันขลุบ
ยมขันธ์ ธงชัย อธิบดี ดิถีพิฆาต ดิถีฤกษ์ชัย ดิถีมหาสูญ วันดับ วันภาณฤกษ์ อัคนิโรธ
2.ฤกษ์บนเรือนหรือนพดลมี9ฤกษ์คือ1.ทลิทโท 2.มหัทธโน 3.โจโร 4.ภูมิปโล 5.เทศาตรี 6.เทวี 7.เพรชฆาต 8.ราชา 9.สมโณ
3.บาทฤกษ์คือดาวพระเคระห์ประจำเกษตรนวางค์ มี4 บาทคือ1.ปฐมบาท 2.ทุติยะบาท 3.ตตืยะบาท 4.จตุตถะบาท ระวังฤกษ์แตก นวางค์ขาด นวางค์ต้องห้ามที่อาจจะก่อให้เกิดเหตุไม่ดี ในการวางฤกษ์
4.ฤกษ์ออกสำหรับเดินทาง กกษ์เข้า ปลูกเรือน โกนจุก ซ่อนหรือเก็บสิ่งของมีค่า ฤกษ์ปิด ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ทำวิชาไสยศาสตร์ ตีอาวุธ
5.ข้อห้ามในการกระทำใดๆในวันดังนี้
เผาผีวันศุกร์ โกนจุกวันอังคาร แต่งงานวันพุธ สงฆ์14ค่ำ เผาผี15ค่ำ นารี 11ค่ำ สมรส 7ค่ำ วันพระเคราะห์ยกหรือย้ายราศีเข้าอีกราศีตรง0องศา
วันสุริยคราศและวันจันทรคราส ห้ามทั้งเดือน

รับสมัครนักศึกษาโหราศาสตร์สากล-ยูเเนียน

ในปี2554 ทางชมรมskyclock จะเปิดรับสมัครนักศึกษาโหราศาสตร์สากล-ยูเรเนียน ผู้มีดวงถึง ดังนี้
1.วิชาโหราศาสตร์สากล(Sayana or Western astrology) หลักสูตรพื้นฐาน สำหรับผู้ที่ไมเคยเรียนโหราศาสตร์มาก่อน
2.วิชาโหราศาสตร์ยูเรเนียน พระเคราะห์สนธิและเรือนชะตายูเรเนียน ขั้นพื้นฐาน
3.วิชาโหราศาสตร์เชิงปฏิบัตรการและวิธีจานคำนวณ2ชั้น เหมาะกับผู้ี่มีพื้นฐานทั้งสากลและยูเรเนียน
4.โหราศาสตร์กาลชะตาและการวางฤกษ์(Horary Astrology and Election)
สนใจหลักสูตรติดต่อที่Songyos27@Gmail.com ,songyos@hotmail.com
ถ้าท่านมาสมัครครบ5คน จะเปิดสอนทันที รับเป็นกลุ่ม และส่วนบุคคล โปรดติดต่อเพื่อสัมภาษณ์ก่อนเรียน
หรือท่านส่งวันเดือนปีเกิดเวลาตกฟาก เพื่อจะตรวจสอบว่า ท่านมีดวงเรียนโหราศาสตร์หรือไม่และปีนี้ดวงถึงที่ได้เรียนหรือไม่

ปฏิทินจัทรคติไทย

ปฏิทินจันทรคติไทย คือ ปฏิทินที่นับตามคติการโคจรของดวงจันทร์ โดยหมายดูจากปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม สำหรับปฏิทินจันทรคติ ของไทย จะมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้

ปฏิทินจันทรคติราชการ หรือปฏิทินหลวง เป็นแบบที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม อาศัยการกำหนดรูปแบบปีทางจันทรคติ อย่างไรก็ตาม หลักการคำนวณหารูปแบบปีจันทรคติ ยังไม่มีการสรุปเป็นสูตรที่ตายตัวแน่ชัด ใช้เป็นปฏิทินจันทรคติราชการทั่วไป ตลอดจน พระสงฆ์ไทยคณะมหานิกาย
ปฏิทินจันทรคติปักขคณนา เป็นแบบที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ มีสูตรคำนวณที่แน่ชัด และมีความแม่นยำตามธรรมชาติกว่าแบบราชการอยู่มาก และให้ทรงนำมาใช้ในพระสงฆ์ไทย คณะธรรมยุตินิกาย
การนับช่วงเวลา
การนับช่วงเวลาในปฏิทินจันทรคติไทย เป็นการนับโดยถือเอาการเปลี่ยนแปลงของดวงจันทร์เป็นหลัก ดังนี้

คืนเดือนดับ จะสังเกตไม่เห็นดวงจันทร์
คืนข้างขึ้น จะสังเกตเห็นดวงจันทร์เป็นรูปเสี้ยวนิดเกียวแล้วค่อยๆ โตขึ้นในแต่ละวันจนเต็มดวง
คืนเดือนเพ็ญ จะสังเกตเห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวง
คืนข้างแรม จะสังเกตเห็นดวงจันทร์ค่อยๆ แหว่งเป็นรูปเสี้ยวเล็กลงๆ จนในที่สุดดวงจันทร์ก็มืดทั้งดวง
การอ่านวันตามแบบจันทรคติจะอ่านเป็นตัวเลขโดยเริ่มที่วันอาทิตย์เป็นหนึ่ง และนับต่อไปตามลำดับจนถึงวันเสาร์นับเป็นเจ็ด และมีการกำหนดดิถีดวงจันทร์และตัวเลขเดือนกำกับอย่างย่อ โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวเลข ดังตัวอย่าง ๖ ๓ฯ ๓ อ่านว่า วันศุกร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3

การนับวันทางจันทรคติ เริ่มนับวันขึ้น 1 ค่ำ จนถึงขึ้น 15 ค่ำ แล้วจึงขึ้นวันแรม 1 ค่ำ ถึงวันแรม 14 ค่ำ ในเดือนคี่ และวันแรม 15 ค่ำ ในเดือนคู่ จึงทำให้เดือนคี่มี 29 วัน เดือนคู่มี 30 วัน การนับเดือนทางจันทรคติ เริ่มต้นนับเดือนธันวาคมเป็นเดือน 1 เรียกว่าเดือนอ้าย มกราคมเป็นเดือนที่ 2 เรียกว่า เดือนยี่ และนับเดือน 3 เดือน 4 ไปจนถึงเดือน 12 ยกเว้นเขตภาคเหนือตอนบน หรือดินแดนล้านนาเดิม ที่มีการนับเดือนเร็วกว่า 2 เดือน กล่าวคือ ในวันลอยกระทง ตรงกับเดือน 12 ใต้ และตรงกับเดือน 2 เหนือ (12, 1, 2) ส่วนวันมาฆบูชา ตรงกับเดือน 3 ใต้ และ เดือน 5 เหนือ

การนับปีทางจันทรคติ นับตามเวลาการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 29 วันครึ่งในเวลา 1 เดือน ถ้านับ 29 วัน เวลาจะขาดไป 12 ชั่วโมง แต่ถ้านับ 30 วัน เวลาจะเกินไป 12 ชั่วโมง จึงต้องนับ 59 วัน เป็น 2 เดือน โดยให้นับเดือนคี่มี 29 วัน และเดือนคู่มี 30 วัน โดยเดือนคี่เป็นเดือนต้น เดือนคู่เป็นเดือนรองถัดไป สลับจนครบ 12 เดือน แล้วเริ่มต้นใหม่ ถ้านับวันปีทางจันทรคติจะมีเพียง 354 วัน ซึ่งมีวันน้อยกว่าปีทางสุริยคติถึง 11 วันต่อปี เมื่อรวม 3 ปี จะได้ 33 วัน ดังนั้นในทุกๆ 3 ปีทางจันทรคติ จะมีเดือน 8 สองหน คือจะมี 13 เดือน เรียกปีนั้นว่า ปีอธิกมาส
นอกจากความเข้าใจผิดในการอ่านปฏิทินไทยที่ได้ยกตัวอย่างมาแล้ว ปฏิทินไทยมีความคลาดเคลื่อน 2 ส่วน คือ ส่วนการทดวัน (ทางปฏิทิน) ซึ่งมีค่าได้ถึง 0.5วัน โดยเฉพาะในเดือน 6 ของปีอธิกวารเป็นช่วงที่รอทดวัน กับส่วนความเป็นวงรีของ วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก (ทางดาราศาสตร์) ซึ่งมีค่าได้ถึง 0.65วัน อีกส่วนหนึ่ง

[แก้] การสังเกตดวงจันทร์อย่างง่าย
วันจันทร์เพ็ญ

วันจันทร์เพ็ญอาจเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ หรือแรม 1 ค่ำก็ได้ ผู้ที่เคยสังเกตดวงจันทร์จะทราบดีว่า เป็นการยากมากที่จะบอกได้ว่า วันไหนเป็นวันเพ็ญ เพราะมักจะเห็นว่าเต็มดวงอยู่ 2 วัน บางท่านอาจเห็น 4 วัน ต้องใช้รูปถ่ายที่ขยายแล้วนำมาเทียบกัน ผู้เขียนแนะนำการดูจันทร์เพ็ญอย่างง่าย ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทย ให้ดูเวลาที่ดวงอาทิตย์ตก ดังนี้

1.ถ้าคืนนั้นเป็นจันทร์เพ็ญ จะเห็นดวงจันทร์กำลังขึ้นพอดี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์

2.ถ้าดวงจันทร์อยู่สูงเกิน 7 องศา แสดงว่ายังไม่ถึงวันจันทร์เพ็ญ ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าดวงจันทร์ด้านล่างยังแหว่งอยู่ เป็นข้างขึ้น เช่น ขึ้น 14 ค่ำ (หรืออาจเป็นขึ้น 15 ค่ำก็ได้ในบางเดือน)

3.ถ้าดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้วราว 1/2 ชั่วโมง แต่ดวงจันทร์ยังไม่ขึ้นเลย และเมื่อดวงจันทร์ขึ้นแล้วให้สังเกตว่า ดวงจันทร์ด้านบนจะแหว่งไปเล็กน้อย กรณีนี้เป็นแรม 1 - 2 ค่ำ

วันจันทร์ดับอย่างง่าย

วันจันทร์ดับอาจเป็นวันแรม 14-15 ค่ำ หรือขึ้น 1 ค่ำก็ได้ (มีโอกาส ราว 50%) ผู้เขียนแนะนำการดูจันทร์เพ็ญดับอย่างง่าย ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทย ให้ดูเวลาที่ดวงอาทิตย์ตก ดังนี้

1.ถ้าคืนนั้นดวงจันทร์ยังไม่ดับ จะไม่เห็นดวงจันทร์เลย เพราะดวงจันทร์ตกขอบฟ้าไปก่อนดวงอาทิตย์ เช่น วันแรม 13-14-15 ค่ำ

2.ถ้าคืนนั้นเป็นคืนจันทร์ดับพอดี อาจไม่เห็นดวงจันทร์ก็ได้ เพราะดวงจันทร์จะตกไล่เลี่ยกับดวงอาทิตย์ คือตกก่อนหรือหลังดวงอาทิตย์ไม่เกิน ครึ่งชั่วโมง เช่น แรม 14-15 ค่ำ ขึ้น 1 ค่ำ

3.ถ้าคืนนั้นเป็นคืน New Moon คือ คืนถัดจากคืนจันทร์ดับ จะเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวบางๆ หงายท้อง และตกตามหลังดวงอาทิตย์ไป ราว 1/2 ชั่วโมง เช่น ขึ้น 2 ค่ำ อาจเป็นขึ้น 1 ค่ำก็ได้ ในบางเดือน)


วันจันทร์ครึ่งดวง

รูปร่างดวงจันทร์ครึ่งดวงสังเกตได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตามหากต้องดูให้ละเอียดขึ้น ให้สังเกตดังนี้ 1.การสังเกตดวงจันทร์ครึ่งดวงข้างขึ้น ให้ดูตอนที่ดวงอาทิตย์ตก ดวงจันทร์จะอยู่กลางฟ้า (ทางทิศใต้) พอดี ส่วนมากเป็นวันขึ้น 8 ค่ำ แต่อาจเป็นขึ้น 7 ค่ำก็ได้

2.การสังเกตดวงจันทร์ครึ่งดวงข้างแรม ให้ดูในตอนที่ดวงอาทิตย์ขึ้น ดวงจันทร์จะอยู่กลางฟ้า (ทางทิศใต้) พอดี ส่วนมากตรงกับวันแรม 8 ค่ำ แต่อาจเป็นแรม 7 ค่ำก็ได้


การดูจันทร์ดับ/เพ็ญจากอุปราคา จันทรุปราคา จะเกิดในคืนจันทร์เพ็ญเท่านั้น มักเป็นวันขึ้น 15 ค่ำและมีโอกาสเกิดในวันขึ้น 14 ค่ำได้ด้วย แต่มีโอกาสน้อยมาก แต่บางครั้งอาจเป็นแรม 1 ค่ำก็ได้ โดยเฉพาะถ้าขึ้นจันทรุปราคาในช่วงหัวค่ำ ส่วนสุริยุปราคา มักจะเกิดในวันจันทร์ดับ แต่ในบางครั้งเกิดในวันถัดไปก็ได้ โดยเฉพาะหากเกิดช่วงเช้า วันเกิดสุริยุปราคามักตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ หรือวันแรมสุดท้ายของเดือน
ข้อมูลจากhttp://th.wikipedia.org/wiki
การเกิดดิถี

ภาพแสดงการเกิดดิถีของดวงจันทร์ โดยที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์โคจรรอบโลก ภาพที่เห็นอยู่นี้มองลงไปยังขั้วโลกเหนือ แสงอาทิตย์มาทางขวาดังแสดงเป็นลูกศรสีเหลือง จากภาพจะเห็นได้ว่า ในวันเดือนเพ็ญ ดวงจันทร์จะขึ้นตอนดวงอาทิตย์ตก และในวันเดือนดับ จะไม่สามารถสังเกตเห็นดวงจันทร์ได้ เพราะถูกแสงอาทิตย์บดบังดิถีเกิดจากการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ขณะที่โคจรทั้งรอบโลกและรอบดวงอาทิตย์ ก็จะมีส่วนสว่างที่เกิดจากแสงของดวงอาทิตย์ โดยที่ส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่หันเข้าหาโลกมีไม่เท่ากันเนื่องจากตำแหน่งรอบโลกที่ต่างกัน จนเกิดการเว้าแหว่งไปบ้าง และเกิดเป็นข้างขึ้นข้างแรม โดยที่มีคาบของการเกิดประมาณ 29.53 วัน (29 วัน 12 ชั่วโมง 44 นาที) เรียกระยะนี้ว่า เดือนจันทรคติ (synodic month) ซึ่งยาวกว่าเดือนดาราคติ (sidereal month) ไปประมาณ 2 วัน

บางครั้ง อาจเกิดสุริยุปราคาได้เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่มาในตำแหน่งที่บังแสงจากดวงอาทิตย์ เมื่อเทียบกับผู้สังเกตบนโลก ซึ่งจะเกิดในวันเดือนดับ และอาจเกิดจันทรุปราคาได้เมื่อดวงจันทร์มาอยู่ในเงาของโลก ซึ่งเกิดในวันเดือนเพ็ญ ทั้งนี้ก็เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงดิถีของดวงจันทร์

ในซีกโลกเหนือ ถ้าเราหันหน้าลงทิศใต้ ดวงจันทร์จะแสดงส่วนสว่างด้านทิศตะวันตกก่อนในข้างขึ้น จากนั้นจะค่อย ๆ แสดงส่วนสว่างมากขึ้น และจากนั้นก็ลดส่วนสว่างจากด้านทิศตะวันตกไปจนหมด ส่วนในซีกโลกใต้ ถ้าหันหน้าขึ้นทิศเหนือ ทิศทางก็จะเป็นไปในทางกลับกัน นั่นคือ ดวงจันทร์จะแสดงด้านทิศตะวันออกก่อนในข้างขึ้น และเผยส่วนทิศตะวันตกออก

[แก้] ดิถีในปฏิทินไทย
ปฏิทินที่เราใช้กันทุกวันนี้มักจะบอกข้างขึ้นข้างแรมไว้ นั่นคือสิ่งที่บอกดิถี โดยเฉพาะปฏิทินแบบไทยผสมจีนจะบอกไว้ทุกวัน เช่น ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันตรุษไทย-วันเปลี่ยนปีนักษัตรตามหลักโหราศาสตร์ไทย การบอกดิถีในปฏิทินหรือบอกทั่ว ๆ ไปนั้นพบได้สองแบบ ได้แก่

แบบธรรมดา โดยบอกข้างขึ้นหรือข้างแรม ตามด้วยจำนวนวันที่ผ่านจากจุดเปลี่ยนข้างขึ้นข้างแรม และเดือนจันทรคติ เช่น ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6, ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
แบบไทยเดิม โดยบอกวันในสัปดาห์ ตามด้วยดิถี และเดือน เช่น วันเสาร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เขียนได้ดังนี้ ๗ ๑ฯ ๕ หรือวันอาทิตย์ แรม 15 ค่ำ เดือน 6 เขียนได้ดังนี้ ๑ ๑๕ ฯ ๖
นั่นคือ การบอกดิถีตามแบบไทย จะบอกวันก่อน จากนั้นตามด้วยวันขึ้นหรือแรมกี่ค่ำ โดยวางเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) หรือเครื่องหมายบวก (+) ไว้ด้านบนตัวเลข กรณีข้างแรม และวางไว้ด้านล่างกรณีข้างขึ้น ตามด้วยเดือน (อาจตามด้วยปีนักษัตร และจุลศักราชก็ได้)

[แก้] การคำนวณดิถี
การคำนวณดิถี เป็นการทำให้เราทราบว่าวันทางจันทรคติจะเป็นเช่นใด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือให้ทราบถึงข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์นั่นเอง การคำนวณนั้นมีทั้งแบบดาราศาสตร์สากลและแบบไทย ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปนี้
แบบดาราศาสตร์
สูตรคำนวณที่ใช้มีมากมายหลายสูตร แต่สูตรที่จะกล่าวถึงในที่นี้ เป็นสูตรโดยคร่าว และไม่ยากนักสำหรับการนำไปใช้งาน

(((JD-2454000.98958)/29.530588*4000) mod 4000)/1000
mod-หารเอาแต่เศษ
โดยที่ JD เป็นวันจูเลียน (หรือหรคุณจูเลียน) นั่นคือจำนวนวัน ที่นับจากวันที่ 1 มกราคม ก่อนคริสต์ศักราช 4713 ปี เวลา 12 นาฬิกา 0 นาที 0 วินาที จนถึงวันที่ต้องการหา โดยหาได้จากสูตรดังต่อไปนี้

ให้ month-เดือน day-วันที่ year-ปี ค.ศ. floor-ปัดเศษ JD-หรคุณจูเลียน
ถ้า month <= 2 แล้ว
year = year-1
month =month+ 12

A = floor (year/100)
B = 2 - A + floor (A/4)

JD = floor (365.25* (year + 4716)) + floor (30.6001* (month+1)) + day + B - 1524.5

ภาพเคลื่อนไหวแสดงดิถีของดวงจันทร์ที่เปลี่ยนแปลงไป เทียบกับเวลาจากนั้นให้พิจารณาผลการคำนวณที่ได้กับตารางนี้ แล้วดูผลการคำนวณ

ตารางผลการคำนวณ เกณฑ์ ผลที่ได้
<0.25
<0.75
<1.25
<1.75
<2.25
<2.75
<3.25
<3.75

ถ้าจะหาร้อยละของส่วนสว่างบนดวงจันทร์ ให้หาได้จากสูตรนี้

floor (((((JD-2454000.98958)/29.530588*4000) mod 4000)/1000) *50)
(ถ้าผลการคำนวณตอนแรกน้อยกว่า 2)
floor ((4- ((((JD-2454000.98958)/29.530588*4000) mod 4000)/1000)) *50)
(ถ้าผลการคำนวณตอนแรกมากกว่าหรือเท่ากับ 2)
ทั้งนี้ทั้งนั้น ค่าที่คำนวณได้ในที่นี้ หมายถึงดิถีที่เกิดบนท้องฟ้าโดยตรง หรือดิถีตามความหมายทางดาราศาสตร์
ข้อมูลจากhttp://th.wikipedia.org/wiki