การเกิดดิถี
ภาพแสดงการเกิดดิถีของดวงจันทร์ โดยที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์โคจรรอบโลก ภาพที่เห็นอยู่นี้มองลงไปยังขั้วโลกเหนือ แสงอาทิตย์มาทางขวาดังแสดงเป็นลูกศรสีเหลือง จากภาพจะเห็นได้ว่า ในวันเดือนเพ็ญ ดวงจันทร์จะขึ้นตอนดวงอาทิตย์ตก และในวันเดือนดับ จะไม่สามารถสังเกตเห็นดวงจันทร์ได้ เพราะถูกแสงอาทิตย์บดบังดิถีเกิดจากการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ขณะที่โคจรทั้งรอบโลกและรอบดวงอาทิตย์ ก็จะมีส่วนสว่างที่เกิดจากแสงของดวงอาทิตย์ โดยที่ส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่หันเข้าหาโลกมีไม่เท่ากันเนื่องจากตำแหน่งรอบโลกที่ต่างกัน จนเกิดการเว้าแหว่งไปบ้าง และเกิดเป็นข้างขึ้นข้างแรม โดยที่มีคาบของการเกิดประมาณ 29.53 วัน (29 วัน 12 ชั่วโมง 44 นาที) เรียกระยะนี้ว่า เดือนจันทรคติ (synodic month) ซึ่งยาวกว่าเดือนดาราคติ (sidereal month) ไปประมาณ 2 วัน
บางครั้ง อาจเกิดสุริยุปราคาได้เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่มาในตำแหน่งที่บังแสงจากดวงอาทิตย์ เมื่อเทียบกับผู้สังเกตบนโลก ซึ่งจะเกิดในวันเดือนดับ และอาจเกิดจันทรุปราคาได้เมื่อดวงจันทร์มาอยู่ในเงาของโลก ซึ่งเกิดในวันเดือนเพ็ญ ทั้งนี้ก็เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงดิถีของดวงจันทร์
ในซีกโลกเหนือ ถ้าเราหันหน้าลงทิศใต้ ดวงจันทร์จะแสดงส่วนสว่างด้านทิศตะวันตกก่อนในข้างขึ้น จากนั้นจะค่อย ๆ แสดงส่วนสว่างมากขึ้น และจากนั้นก็ลดส่วนสว่างจากด้านทิศตะวันตกไปจนหมด ส่วนในซีกโลกใต้ ถ้าหันหน้าขึ้นทิศเหนือ ทิศทางก็จะเป็นไปในทางกลับกัน นั่นคือ ดวงจันทร์จะแสดงด้านทิศตะวันออกก่อนในข้างขึ้น และเผยส่วนทิศตะวันตกออก
[แก้] ดิถีในปฏิทินไทย
ปฏิทินที่เราใช้กันทุกวันนี้มักจะบอกข้างขึ้นข้างแรมไว้ นั่นคือสิ่งที่บอกดิถี โดยเฉพาะปฏิทินแบบไทยผสมจีนจะบอกไว้ทุกวัน เช่น ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันตรุษไทย-วันเปลี่ยนปีนักษัตรตามหลักโหราศาสตร์ไทย การบอกดิถีในปฏิทินหรือบอกทั่ว ๆ ไปนั้นพบได้สองแบบ ได้แก่
แบบธรรมดา โดยบอกข้างขึ้นหรือข้างแรม ตามด้วยจำนวนวันที่ผ่านจากจุดเปลี่ยนข้างขึ้นข้างแรม และเดือนจันทรคติ เช่น ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6, ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
แบบไทยเดิม โดยบอกวันในสัปดาห์ ตามด้วยดิถี และเดือน เช่น วันเสาร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เขียนได้ดังนี้ ๗ ๑ฯ ๕ หรือวันอาทิตย์ แรม 15 ค่ำ เดือน 6 เขียนได้ดังนี้ ๑ ๑๕ ฯ ๖
นั่นคือ การบอกดิถีตามแบบไทย จะบอกวันก่อน จากนั้นตามด้วยวันขึ้นหรือแรมกี่ค่ำ โดยวางเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) หรือเครื่องหมายบวก (+) ไว้ด้านบนตัวเลข กรณีข้างแรม และวางไว้ด้านล่างกรณีข้างขึ้น ตามด้วยเดือน (อาจตามด้วยปีนักษัตร และจุลศักราชก็ได้)
[แก้] การคำนวณดิถี
การคำนวณดิถี เป็นการทำให้เราทราบว่าวันทางจันทรคติจะเป็นเช่นใด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือให้ทราบถึงข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์นั่นเอง การคำนวณนั้นมีทั้งแบบดาราศาสตร์สากลและแบบไทย ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปนี้
แบบดาราศาสตร์
สูตรคำนวณที่ใช้มีมากมายหลายสูตร แต่สูตรที่จะกล่าวถึงในที่นี้ เป็นสูตรโดยคร่าว และไม่ยากนักสำหรับการนำไปใช้งาน
(((JD-2454000.98958)/29.530588*4000) mod 4000)/1000
mod-หารเอาแต่เศษ
โดยที่ JD เป็นวันจูเลียน (หรือหรคุณจูเลียน) นั่นคือจำนวนวัน ที่นับจากวันที่ 1 มกราคม ก่อนคริสต์ศักราช 4713 ปี เวลา 12 นาฬิกา 0 นาที 0 วินาที จนถึงวันที่ต้องการหา โดยหาได้จากสูตรดังต่อไปนี้
ให้ month-เดือน day-วันที่ year-ปี ค.ศ. floor-ปัดเศษ JD-หรคุณจูเลียน
ถ้า month <= 2 แล้ว
year = year-1
month =month+ 12
A = floor (year/100)
B = 2 - A + floor (A/4)
JD = floor (365.25* (year + 4716)) + floor (30.6001* (month+1)) + day + B - 1524.5
ภาพเคลื่อนไหวแสดงดิถีของดวงจันทร์ที่เปลี่ยนแปลงไป เทียบกับเวลาจากนั้นให้พิจารณาผลการคำนวณที่ได้กับตารางนี้ แล้วดูผลการคำนวณ
ตารางผลการคำนวณ เกณฑ์ ผลที่ได้
<0.25
<0.75
<1.25
<1.75
<2.25
<2.75
<3.25
<3.75
ถ้าจะหาร้อยละของส่วนสว่างบนดวงจันทร์ ให้หาได้จากสูตรนี้
floor (((((JD-2454000.98958)/29.530588*4000) mod 4000)/1000) *50)
(ถ้าผลการคำนวณตอนแรกน้อยกว่า 2)
floor ((4- ((((JD-2454000.98958)/29.530588*4000) mod 4000)/1000)) *50)
(ถ้าผลการคำนวณตอนแรกมากกว่าหรือเท่ากับ 2)
ทั้งนี้ทั้งนั้น ค่าที่คำนวณได้ในที่นี้ หมายถึงดิถีที่เกิดบนท้องฟ้าโดยตรง หรือดิถีตามความหมายทางดาราศาสตร์
ข้อมูลจากhttp://th.wikipedia.org/wiki
วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น